พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สวรรคตเพราะต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะเทือนเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และการลดบทบาททางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 โดยกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทุกวันนี้กรณีดังกล่าวยังคงมีการถกเถียงกันอยู่และได้รับความสนใจในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ แต่ไม่เป็นประเด็นสาธารณะเพราะกรณีดังกล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยตรง
ขณะที่เสียงปืนดังขึ้น ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน นั่งอยู่ที่พื้นระเบียงหน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์เป็นทางเดียวจะเข้าสู่ห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันมหิดล
ประเด็นสวรรคตมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น โดยนายปรีดีเป็นผู้ต้องสงสัยในฐานะผู้บงการให้ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่๘ เพื่อให้ตนรอดพ้นจากข้อกล่าวหา นายปรีดีจึงสั่งให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น ซึ่งถูกเรียกสั้นๆว่า ศาลกลางเมือง เพื่อทำการสืบสวนกรณีสวรรคต
สถานที่เกิดเหตุ คือในห้องบรรทมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 8) จากการสอบสวนพบว่า ไม่พบร่องรอยการปีนป่ายจากภายนอก และทางเข้าออกห้องบรรทมมีแค่ทางเดียวในขณะนั้น โดย
ขณะเกิดเหตุมีมหาดเล็กยืนยามอยู่ ดังที่เห็นในภาพคือ มุมหน้าพระที่นั่ง 2 คน ที่บันไดหลังข้างอ่างน้ำพุ 2 คน กับบันไดขึ้นชานชาลาสุดพระที่นั่งด้านตะวันตก 1 คน และมีชาวที่อยู่เวรที่บันไดระหว่างห้องภูษากับห้องเครื่องเล่นอีก
โดยพระแท่นบรรทมจะมีพระวิสูตร (มุ้ง) คลุมรอบด้าน และมีเหล็กทับกดอยู่ การเข้าออกต้องแหวกพระวิสูตรเข้าไป และพระวิสูตรไม่มีรอยทะลุ หัวกระสุนพุ่งลงทะลุผ่านพระเศียร และพระเขนย (หมอน) ไปฝังในฟูกที่นอนข้างใต้
ช่วงแรกหลังเหตุการณ์ ทางรัฐบาลปรีดีในขณะนั้นไม่ได้มีความคิดที่จะต้องชันสูตรพระบรมศพ และกรมขุนชัยนาทฯเองก็ได้ห้ามปรามไว้ ต่อมารัฐบาลฯได้ออกประกาศในขณะนั้นสันนิษฐานว่าเป็นอุปัทวเหตุ(โดยพระองค์เอง) และได้อัญเชิญสมเด็จพระอนุชาขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์ ไม่กี่วันต่อมาฝ่ายปฏิปักษ์ของปรีดีฯนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มนิยมเจ้าได้นำมาเป็นประเด็นทางการเมือง โดยกล่าวหาว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ และมีนายปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ เพื่อสยบข่าวลือและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ นายกปรีดีจึงประกาศจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนขึ้น และดำเนินการชันสูตรพระบรมศพ เพื่อพิสูจน์ความจริงให้กระจ่าง การชันสูตรพระบรมศพเริ่มวันที่ 26 มิถุนายน 2489
ต้องอาศัยจากคำให้การบุคคลที่เข้าไปพบพระบรมศพกลุ่มแรกในการการวิเคราะห์ เนื่องจากว่าภายหลังเมื่อตำรวจไปถึงได้มีการเคลื่อนย้ายและขยับพระบรมศพและวัตถุในที่เกิดเหตุไปจากเดิมแล้ว
สภาพพระบรมศพ ทรงบรรทมหงายพิงพระเขนย (หมอน) คล้ายคนนอนหลับอย่างปกติ มีผ้าคลุมตั้งแต่พระอุระ (อก) ตลอดจนถึงข้อพระบาท (ข้อเท้า) มีพระโลหิต (เลือด) ไหลโทรมพระพักตร์ (หน้า) ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียร (ศีรษะ) ตะแคงไปทางด้านขวาเล็กน้อย บริเวณกึ่งกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ตรงตรงเหนือพระขนง (คิ้ว) ซ้าย มีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 ซม. พระเนตร (ตา) ทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระเกศา (ผม) แสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ (ปาก) ปิด พระกร (แขน) ทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 ซม. มีปืนของกลางขนาดลำกล้อง 11 มม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนานและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก)
การชันสูตรพระบรมศพเริ่มในวันที่ 26 มิถุนายน 2489 โดยมี นพ.สุด แสงวิเชียร และ นพ.สงกรานต์ นิยมเสน เป็นผู้ลงมือผ่าตัดพระบรมศพด้วยกัน และมี นพ.สงัด เปล่งวานิช เป็นผู้คอยจดบันทึกผล
โดยคณะแพทย์ 20 คน เป็นแพทย์ไทย 16 คน แพทย์ต่างชาติ 4 คน (อเมริกัน 1 คน, แพทย์จากกองทัพบริติชและบริติชอินเดีย 3 คน) และใน 16 คนแรกที่เพิ่งกล่าวถึง 8 คนบอกตัด “อุบัติเหตุ” ออกไปเลยว่าเป็นไปไม่ได้ (หนึ่งในนั้น นพ.ชุบ โชติกเสถียร ตัดการยิงพระองค์เองออกหมดคือ ตัด “ปลงพระชนม์เอง” ด้วย) ที่เหลือเกือบทุกคนใส่ “อุบัติเหตุ” ไว้หลังสุด (คือเรียงลำดับความเป็นไปได้ว่า “ถูกปลงพระชนม์, ปลงพระชนม์เอง หรือ อุบัติเหตุ”) นอกจากนี้แพทย์บางคนที่ไม่เจาะจงตัดอุบัติเหตุทิ้ง ยังให้เหตุผลว่าแม้จะมีความเป็นไปได้ แต่ก็น้อยมากไม่ถึง 1 ในล้าน เช่นนพ.หลวงพิณพากย์พิทยาเพท และนพ.ใช้ ยูนิพันธ์ โดยนับของแพทย์ นับจากใครเห็นว่าเหตุใดมีน้ำหนักมากสุด ให้นับอย่างนั้นเป็น 1 อย่างอื่นไม่นับ
ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 รัฐบาลใหม่ได้ทำการสืบสวนต่อ โดยพุ่งเป้าไปลอบปลงพระชนม์ โดยมีนายชิต นายบุศย์ นายเฉเลียว นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย เป็นจำเลย จากนั้นอัยการโจทย์ได้นำสืบ คดีขึ้นสู่ศาล ทั้ง 3 ศาลวินิจฉัยความเป็นไปได้ดังนี้ จากความเป็นไปได้ทั้ง 4 แบ่งเป็น
นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง การสวรรคตเพราะอุบัตเหตุโดยกระทำของผู้อื่น ในข้อสรุปรายงานของคณะกรรมการสอบสวนพฤติการณ์สวรรคต ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2489 ก็ได้สรุปไปในทำนองเดียวกับศาล คือ "อุบัติเหตุเกิดจากการกระทำของผู้อื่นนั้นไม่มีเค้ามูลอันจำต้องพิจารณาถึง"
หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ทำความเห็นแย้งไว้ในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า คดีนี้ควรพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสาม นอกจากนี้ หลวงปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ยังให้ความเห็นว่าอาจเป็นอุบัติเหตุโดยพระองค์เอง ดังที่กล่าวไว้ในในเอกสารความเห็นแย้ง และกล่าวย้ำอีกครั้งในบทสัมภาษณ์ในอีกหลายปีให้หลัง
วันที่ 18 มิถุนายน ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อสอบหาข้อเท็จจริงให้ปรากฏ ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สามพระองค์ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกองทัพอากาศ โดยมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นเลขานุการ และนายสอาด นาวีเจริญ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการชุดนี้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า คณะกรรมการสอบสวนพฤติกรรมในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ตำรวจได้ทำการจับกุม นายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว และออกหมายจับ นายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย จากพยานและหลักฐานที่มีอยู่ขณะนั้น ศาลนี้เชื่อว่า นายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ได้ร่วมสมคบคิดกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 จึงพิพากษาดังนี้
ปัจจุบันเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรัชกาลที่ 8 มักจะเขียนสาเหตุของการสวรรคตไว้แต่เพียงสั้น ๆ ทำนองว่า "เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง" หลายฉบับอาจระบุสาเหตุเพิ่มเติมด้วย ทำนองว่า "เป็นเพราะพระแสงปืนลั่นระหว่างทรงทำความสะอาดพระแสงปืน" เข้าใจว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการโต้เถียงกรณีสวรรคต
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกรณีสวรรคตนี้แม้ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัดเจน จึงทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดต่าง ๆ ซึ่งพยายามจะอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น โดยประเด็นหลักก็คือกรณีสวรรคตนี้ เป็นการปลงพระชนม์โดยบุคคลอื่น หรือรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำการอัตวินิบาตกรรมปลงพระชนม์ตัวพระองค์เอง
สำหรับทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ก็จะต้องอธิบายประเด็นสำคัญให้ได้คือ ใครอยู่เบื้องหลังกรณีสวรรคต และประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ จำเลยที่ถูกศาลฎีกาตัดสินว่ากระทำความผิดนั้น แท้จริงเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่
ข้อสังเกตคือ ระหว่างที่การสืบสวนโดยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กำลังคืบหน้านั้น คณะทหารสาย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ก่อรัฐประหาร พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งให้ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง พล.ต.ต. พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) (พี่เขยของหม่อมราชวงศ์เสนีย์และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคประชาธิปัตย์) อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อทำหน้าที่สืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ นำไปสู่การจับกุมจำเลยทั้งสามในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เพียง 12 วันหลังรัฐประหาร และหลังจากการจับกุมนั้น พระพินิจชนคดีก็ยังไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในระยะเวลาสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดคือ 90 วัน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในกรณีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตให้ขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมเวลาไม่เกิน 180 วัน ก่อนการประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส 1 ใน 3 จำเลยของคดีดังกล่าว ได้ขอพบพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และเล่ากันว่า เฉลียวได้บอกชื่อฆาตกรตัวจริงให้พลตำรวจเอกเผ่าทราบ[ต้องการอ้างอิง]
และถึงแม้สังคมบางส่วนจะว่าปรีดีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต แต่กรณีคดีของจำเลยทั้งสามที่ถูกประหารชีวิตไปก็ไม่เคยถูกรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่เลย ทั้งในกระบวนการยุติธรรมหรือการศึกษาหาความจริงใหม่ ทั้งที่ข้อกล่าวหาของจำเลยทั้งสามและปรีดีนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด (ข้อกล่าวหาคือ "ปรีดีเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของจำเลยทั้งสาม") และมีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าอย่างน้อยหนึ่งในสามจำเลยน่าจะเป็นผู้บริสุทธิ์
ทฤษฎีนี้มุ่งอธิบายประเด็นความขัดแย้งในราชสำนัก และเหตุผลที่ทำให้ในที่สุดรัชกาลที่ 8 ทรงตัดสินใจเช่นนั้น เอกสารสำคัญที่เสนอทฤษฎีนี้ก็คือหนังสือ The Devil’s Discus: An Enquiry Into the Death of Ananda, King of Siam โดย เรนย์ ครูเกอร์ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2507 หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทย ใช้ชื่อ กงจักรปีศาจ
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) เคยเขียนวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ลงใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงวิจารณ์ตัวนายปรีดีและผู้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากสุลักษณ์เชื่อว่าปรีดีมีส่วนเกี่ยวของกับการปลงพระชนม์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในภายหลัง สุลักษณ์ได้เขียนเล่าในปาจารยสาร ฉบับกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2550 ว่าการเขียนวิจารณ์ในครั้งนั้นเป็นเพราะเขาหลงเชื่อในคำโฆษณาชวนเชื่อ และต่อมาเขาจึงไถ่บาปด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับปรีดี และต่อมามีการแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Powers That Be: Pridi Banomyong through the Rise and Fall of Thai Democracy
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่_8